ทำธุรกิจ เดี๋ยวนี้ เหนื่อยสุด ๆ (จริงไหมครับ?) ทำไมละ? ยอดขายตก คู่แข่งตัดราคา หรือ เรื่องคนทำงานด้วยกันที่คอยแก้ปัญหา ซึ่งจากที่กล่าวมาดูแล้วไม่มีอะไรที่ช่วยให้หายเหนื่อยเลย ยิ่งจะทำให้เราต้อง ทำธุรกิจ ที่เหนื่อยทั้งแรง และ เหนื่อยทั้งกำลังใจ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดก็เป็นได้ โดย
บทความนี้ สาระรีฟ จะมาแบ่งปันกันวิธีการ ทำธุรกิจ กัน ว่าเหตุผลที่เราทำธุรกิจแล้ว แล้วรู้สึกเหนื่อย จนท้อแท้ จะแก้อย่างไร ซึ่งในบทความนี้จะมาพูดในหัวข้อ อุดรูรั่วของธุรกิจ จะช่วยทำให้เราทำงานได้น้อยลง ว่าแต่ทำไม ถึงเป็นแบบนั้น?
ยกตัวอย่างเลย หากธุรกิจเราเปรียบเสมือนถังน้ำ ที่เราต้องเติมถังน้ำ แล้วต้องแบกถังน้ำ ไปรถน้ำตนไม้ เพื่อให้ต้นไม้เหล่านั้นเติบโต ไปสู่การเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่หากการได้มาซึ่งผลผลิตเหล่านั้น มาจากน้ำในถังที่เราไปรดน้ำล่ะ เราจะทำอย่างไรให้ ต้นไม้ทุกต้น ได้รับน้ำเท่ากัน เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ
หากถังน้ำนั้นมีรอยรั่ว เราจะต้องแบกน้ำหลายรอบ จนกว่าจะรดน้ำต้นไม้ได้ครบทุกต้น ซึ่งแปลว่า เราต้อง
ใช้พลังงานมากกว่าเดิม จากการแบกถังน้ำ ไปมา แถมหากรดน้ำได้ไม่ทัน ในช่วงเวลาที่ต้นไม้นั้นต้องการ ย่อมทำให้ผลผลิตที่จะออกมา กลับไม่ตรงตามที่ควรจะเป็นได้ ดังนั้น อุดรูรั่วของ ถังน้ำซะ! แล้วเราจะทำงานได้น้อยลง โดยประเด็นที่สาระรีฟจะมาให้ดู ว่ารูรั่วที่เราควรอุดมีด้านอะไรบ้าง?
ด้านการเงิน (FINANCIAL)
ในส่วนนี้สำคัญสุด ๆ เพราะว่า เงินที่รั่วออกไป โดยที่เราไม่รู้ตัว มันทำให้เรารู้สึกว่า ขายดีจัง แต่เงินหายไปใหนหมด หรือ ขายได้ไม่ค่อยดี แต่ทำยังไงให้ เราใช้เงินที่มีได้มีประโยชน์ที่สุด หากเปรียบ ถังน้ำ = ธุรกิจ, รายได้ = น้ำในถัง, รูรั่ว = เงินใหลออกไป ถ้าเป็นแบบนี้เริ่มเห็นภาพหรือยัง? การแก้ในการเงินจะต้องแก้ 3 ส่วน คือ
ด้านรายรับ
เอ๊ะ รายรับ เป็นรูรั่วอย่างไร? สาระรีฟจะมายกตัวอย่างให้ครับ หากคุณผู้อ่านมีสินค้า 2 ตัว A และ B
สินค้า A เราไปคิดต้นทุนได้ 10 บาท ขาย 20 บาท กำไร 10 บาท
สินค้า B เราไปคิดต้นทุนได้ 15 บาท ขาย 20 บาท กำไร 5 บาท
เราขายสินค้า A ไปได้เยอะมาก ซึ่งช่วยทำให้กิจการมีกำไรสูงกว่าสินค้า B เราเลยรู้สึกว่าต้องดันสินค้า A ให้ได้เยอะ ๆ ขายเยอะมาก แต่รู้สึกว่าทำไม พอมาดูเงิน เงินกลับไม่เหลือเลย เพราะอะไร
ในส่วนนี้สาระรีฟ จะไม่พูดถึงค่าใช้จ่ายรั่วก่อนนะครับ อันนั้นจะมาพูดอีกประเด็นหนึ่ง พูดถึงรายได้ล้วน ๆ ก่อน
ถ้าหาก เราหารูรั่วในส่วนของรายได้ เจอ แล้วพบว่า ต้นทุนการผลิต สินค้า A และ B เราใช้พนักงานค่าจ้าง 10,000 บาท โดยที่ พนักงานผลิตสินค้าทั้ง 2 ตัวในค่าแรงแบบเหมาจ่าย
เราเลยคิดต้นทุนด้วยการ เอาค่าแรงมาหาร 2 เลย โดยที่เราผลิต A 10 ชิ้น และ B 10 ชิ้น แปลว่าค่าแรงก็จะมาเฉลี่ยในสินค้า A และ B เท่า ๆ กันใช่ไหมครับ?
พอลงลึกเข้าไปอีกพบว่า พนักงานใช้เวลาทำ A 6 ชั่วโมง / วัน และ B 2 ชั่วโมงต่อวัน โดยได้จำนวนชิ้นอย่างละ 10 เท่ากัน รู้ไหมจะเจอปัญหาอะไรครับ? เจอปัญหาคือ สินค้า A จะขายถูกเกินจริง (ต้นทุนมันแพง แต่ดันคิดว่าต้นทุนถูก) และ สินค้า B จะขายแพงเกินจริง (ต้นทุนถูก ดันคิดว่า ต้นทุนแพง)
พอทำแบบนี้ เราเลยคิดว่า ไปเน้นขายสินค้า A ดีกว่ากำไรจะได้เยอะ ๆ เพราะต้นทุนมันถูก ส่วนต่างกำไรเยอะ เลยเน้นขายไปซะเยอะเลย หากเอาค่าโฆษณาอะไรมาบวก อาจจะเข้าเนื้อ หรือ ขาดทุนทุกชิ้นที่ขายก็เป็นได้ แต่เราคิดว่ามันมีกำไรไง? อันนี้เลยเป็นแค่กรณีหนึ่งครับที่สาระรีฟมาให้เห็น
ด้านค่าใช้จ่าย
ในส่วนนี้หลายคน คงจะเห็นภาพมากกว่ารายได้ เพราะ ค่าใช้จ่ายที่ จ่ายในงานที่ไม่ได้สร้างผลลัพธ์ได้ดีเท่าที่ควร ย่อมนำมาซึ่งรูรั่ว ที่เราบริหารค่าใช้จ่ายได้ไม่ดี ซึ่งสาระรีฟ ก็มีตัวอย่างมาให้ดูเหมือนกัน ไม่ต้องเป็นห่วง โดยเริ่มจากตัวอย่างดังนี้ครับ
เราวางค่าใช้จ่ายในการเพิ่มยอด ในส่วนของการให้พนักงานขายออกไปพบลูกค้า เพื่อนำมาซึ่งรายได้ที่เราคาดหวังจากสิ่งที่พนักงานขายออกไป แต่ค่าใช้จ่ายที่เราให้ มีตั้งแต่ ค่าน้ำมัน หรืออื่น ๆ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ อาจจะตรงตามที่เราต้องการแหละ หรือ ถ้าไม่ตรงตามที่เราต้องการอันนี้จะเป็นเรื่องดี เพราะเราจะรู้สึก เอ๊ะ พนักงานออกไปพบลูกค้า ทำไม ยอดไม่เพิ่มเลย
แต่ประเด็นมีอยู่แบบนี้ครับ หากการออกไปของพนักงาน มักจะเจอกรณีที่ออกไปพบลูกค้า โดยตั้งเป้าใน 1 วันจะได้สัก 2-3 สถานที่ แต่พอทำจริง กลับทำได้แค่ที่เดียว เพราะมักจะเจอปัญหา ต้องรอลูกค้า ที่มาไม่ตรงตามเวลานัดเสมอ เช่น นัด 13.00 แต่ ลูกค้ามา 15.00 เสมอ ซึ่งต้องทำให้พนักงานไปนั่งรอโดยไม่เกิดประโยชน์ ส่วนนี้เป็นรูรั่วอย่างหนึ่ง ที่เราตั้งเป้าค่าน้ำมันใว้ทั้งเดือน แต่ใช้จริงไม่ตรงตามเป้า ตรงนี้หากแก้ได้จะช่วยทำให้ ยอดขายเพิ่มขึ้นได้ จากเวลาที่ออกไปนอกสถานที่ ใช้ได้คุ้มค่ากว่าเดิม ซึ่งจริง ๆ ในส่วนนี้มีอีกหลายตัวอย่างครับ
ด้านการลงทุน
ในส่วนนี้จะมาพูดเรื่องรูรั่วของการลงทุนครับ เพราะหากเราไปลงทุนในทิศทางที่ไม่มีประสิทธิภาพ จะทำให้รูรั่วของธุรกิจเกิดขึ้นมากมาย มหาศาล ซึ่งทางสาระรีฟ จะมายกตัวอย่างดังนี้ครับ
การลงทุนในธุรกิจที่เราคาดว่า จะช่วยทำให้ธุรกิจเติบโต เช่น สมมติเราทำกิจการด้านร้านอาหาร โดยที่เราต้องการเพิ่มยอดด้วยการหาทำเล เปิดร้านสาขาที่ 2 3 4 นั้น ซึ่งการลงทุนในสาขาใหม่ เราคิดว่าน่าจะช่วยทำให้กิจการโตไวขึ้น แต่บางทีลองมองในมุมกลับกันล่ะ จะเป็นยังไง ถ้าเกิดเจอกรณีแบบนี้?
การลงทุนในสาขาใหม่ เราต้องใช้เวลากว่าจะคืนทุนอีก 4 ปี โดยการลงทุนนั้น จะช่วยทำให้เกิดยอดขาย แต่พอลงทุนจริง สถานการณ์ที่ได้เลยกลายเป็นว่า สาขาที่ลง ขาดทุนในช่วง 6 เดือนแรก ทำให้ กำไรจากสาขาแรกที่เลี้ยงตัวเอง ต้องมาพยุงธุรกิจอีกสาขาให้อยู่รอด เลยทำให้สาขาแรก มีเงินสะสมลดลง จนพอสาขา 2 เริ่มกำไรในเดือนที่ 7 สาขาแรกที่เคยกำไร ดันยอดขายไม่เท่าเดิม เพราะดันมีคู่แข่งมาทำตลาดในช่วง 6 เดือนนั้น และดึงลูกค้ากลับไป กลายเป็นว่า แทนที่สาขาแรก จะดึงส่วนแบ่งทางการตลาดที่มากกว่านี้ แต่เนื่องจากสภาวะการเงินที่ต้องไปอุ้มอีก ส่วนหนึ่ง ทำให้ไม่มีเงินมากพอ ในการไปคิดวางแผนรักษายอดขายเหล่านั้น
ด้านการปฏิบัติงาน (OPERATION)
ในส่วนของการปฏิบัติงาน จะเป็นรูรั่วอีกทางหนึ่ง ที่กิจการมักจะเจอกัน ซึ่งการปฏิบัติงาน จะเป็นส่วนที่พูดถึงลักษณะการทำงานภายในขององค์กรเป็นหลัก ทั้งในส่วนของสินค้าที่จะเอามาขาย ต้องมีขั้นตอนอะไรบ้าง จะออกสินค้าชิ้นใหม่ ต้องมีอะไรบ้าง หรือ ถ้าจะซื้อวัตถุดิบมาเก็บจะเก็บอย่างไร ซื้อมากเท่าใหร่ พูดง่าย ๆ ก็คือการทำงานภายในของกิจการนั้นแหละ โดยในส่วนนี้สาระรีฟจะแบ่งออกเป็นลักษณะดังนี้ครับ
การบริหารสินค้าคงคลัง
สินค้าคงคลัง คงไม่ต้องพูดกันเยอะ เพราะหลายคนน่าจะรู้จักกันแล้ว จริงไหม? แต่ยังไง สาระรีฟ ก็จะมาเกริ่นก่อนว่า สินค้าคงคลัง คือ การบริหารสต็อกดี ๆ นั้นแหละครับ ส่วนนี้จะมีรูรั่วเยอะมาก อาจจะส่งผลต่อ กิจการเป็นไปได้เช่นกัน หากหาไม่เจอ ธุรกิจอาจจะเจอทางตันได้ไม่แพ้กันเลยครับ
รูรั่วของส่วนนี้จะยกตัวอย่าง คือ ถ้าเราเป็นหน้าร้านขายสินค้า สินค้าเราต้องมีหลากหลาย มาจากผู้ผลิตหลายราย แต่ละรายก็มีเงื่อนไขการขายต่างกัน บางที่ก็จ่ายสด บางที่ก็เครดิต ดังนั้น หากเราแก้ไขจุดบอดนี้ไม่ได้ อาจจะทำกระทบต่อการเงินเราได้มากเลย
ดังนั้น เราจะต้องบริหารว่า สินค้าใหนควรเก็บเท่าใหร่ ของแต่ละอันเก็บแล้ว อยู่ได้นานแค่ใหน เมื่อใหร่หมดอายุ เพราะหากหมด ถ้าสินค้ากำไรไม่มาก อาจจะกลบกับสินค้าเหล่านั้นที่ขายออกไป กลายเป็นว่า ขายได้มาก แต่ถ้าของเสียที กำไรก็หายไปเยอะ ตรงนี้แหละ เป็นจุดบอดของกิจการเลยที่หากบริหารสินค้าคงคลังไม่ดี เงินที่ได้มาจากการขาย ก็จะใหลออกไป จนเราคาดไม่ถึงเลยว่า ขายได้ตั้งเยอะ เงินหายไปใหน?
กระบวนการทำงาน
ส่วนนี้จะมาพูดถึงกระบวนการทำงานกันครับ ว่ากระบวนการทำงานที่เราออกแบบมา อาจจะเป็นรูรั่วก็เป็นได้เช่นกัน ส่งผลให้รายได้ หรือ รายจ่ายที่ควรจะเป็น กลับได้มาไม่ตรงกับที่คาดหวังใว้ อารมณ์ประมาณว่า เอ๊ะ เราว่าเราก็ทำมาดีแล้วนะ ทำไมผลลัพธ์ไม่ได้เท่ากับ อีกเจ้าที่ทำของเหมือนกันเลย ส่วนนี้อาจจะมาจากกระบวนการก็เป็นไปได้ สาระรีฟ จะมายกตัวอย่างง่าย ๆ กันครับ
ถ้าหาก คุณกำลังขายของออนไลน์ โดยกระบวนการสั่งซื้อของร้านที่เราขายของ ลูกค้าจะต้องทำขั้นตอนดังนี้
บริษัท นาย กอไก่ ขายของออนไลน์ แบบงู ๆ ปลา ๆ จำกัด (ขายเนื้อสเต็ก)
เห็นโฆษณา ลูกค้าคลิ๊กเข้ามาดู
รายละเอียดสินค้าและบริการขึ้นมา โดยไม่มีราคาบอก
ลูกค้าต้องกรอกอีเมลล์ถามราคา
บริษัท นาย กอไก่ ตอบกลับ
ลูกค้า อ่าน แล้วตอบกลับ จ่ายอย่างไร
บริษัท นาย กอไก่ ส่งบัญชีให้ แล้วให้แนบสลิปโดยการกด Reply เท่านั้น
ลูกค้า โอน และทำตามขั้นตอน
บริษัท นาย ขอไข่ ขายของมืออาชีพ จนนิ้วล็อก จำกัด (ขายเนื้อสเต็ก)
เห็นโฆษณา ลูกค้าคลิ๊กเข้ามาดู
รายละเอียดสินค้าและบริการขึ้นมา มีราคาครบถ้วน พร้อมฟอร์มสั่งซื้อ
ลูกค้าต้องกรอกข้อมูลการสั่ง พร้อมชำระตามช่องทางที่มี เช่น แนบสลิป ตามราคาที่บอกบนหน้าจอ
ระบบได้รับคำตอบรับ แล้วมีข้อความตอบกลับอัตโนมัติว่า ทางเราได้รับยอดแล้ว จะส่งเลข Tracking ให้
ลูกค้าได้รับข้อมูลการสั่ง เป็นอันจบขั้นตอน
ส่วนนี้สาระรีฟ เอามาให้ดูครับ ว่า บริษัท นาย กอไก่ และ นาย ขอไข่ ขายของเหมือนกัน แต่ขั้นตอนการทำงานต่างกัน ตามที่แต่ละบริษัทออกแบบใว้ ซึ่งหากของเหมือนกัน ราคาเท่ากัน ซึ่งลูกค้าชอบการสั่งซื้อแบบ ที่ บริษัท ขอไข่ มากกว่า นั้นย่อมส่งผลให้ ผลลัพธ์ที่ได้ ย่อมไม่เหมือนกัน ดังนั้นกระบวนการทำงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขาย หรือ การทำงานภายใน ย่อมเป็นส่วนสำคัญครับ ที่จะช่วยให้เราทำงานได้เร็วขึ้น โดยใช้แรงน้อยลงนั่นเอง
สุดท้ายแล้ว หากใครอยากถาม หรือพูดคุย Add Line (คลิ๊ก) หรือ ทัก Chat Facebook (คลิ๊ก) แล้วแต่สะดวกได้เลย มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ครับ หวังว่าเนื้อหานี้คงจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ
สำหรับใครที่สงสัยว่า สาระรีฟ คืออะไรสามารถอ่านได้ ที่นี่เลยครับ สาระรีฟ.com ส่วนนี้จะอธิบายว่าบทความต่าง ๆ ที่จะมาแชร์กันมีเรื่องอะไรกันบ้าง หวังว่าจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ
ABOUT THE AUTHOR
Sharif Densumite
กูรูแวดวง Start up และ SMEs ผู้ก่อตั้ง "Pinsouq" ตลาดซื้อขายสินค้าฮาลาล (Halal Marketplace)ที่ รวบรวมสินค้าฮาลาลมากกว่า 1 แสนรายการ เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ สาระรีฟ เพจข่าวสารการตลาดออนไลน์ ในแวดวงธุรกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ
Comentários