top of page
mihas-over-a-year.jpg

บทความ & บทสัมภาษณ์

  • รูปภาพนักเขียนADMIN

ดูไบประตูสู่ตะวันออกกลาง

ปัจจุบันการส่งออกของไทยไปตะวันออกกลางรวมแล้วมีสัดส่วนร้อยละ 4.75 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ซึ่งมีขนาดเทียบเท่าตลาดสิงคโปร์คู่ค้า อันดับ 6 และอินโดนีเซียคู่ค้าอันดับ 7 ของไทย

 

ตลาดสินค้าไทยอยู่ไหน…ส่วนใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งกระจุกตัวอยู่ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE) และซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้ตลาดอื่นๆที่น่าจะมีบทบาทมากขึ้น ได้แก่ ตุรกี อิหร่าน อิสราเอล อิรัก โอมาน เป็นต้น สำหรับ สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ ยานยนต์/ส่วนประกอบ ข้าว อัญมณี/เครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ วิทยุ/โทรทัศน์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก น้ำตาล ผลิตภัณฑ์ยาง และอาหารทะเล เป็นต้น ทั้งนี้ ยานยนต์/ส่วนประกอบนับเป็นสินค้าที่สามารถทำตลาดได้กว้างขวางในตะวันออกกลาง สาเหตุหนึ่งเนื่องมา จากทั้ง UAE และซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทยต่างก็มีผู้ผลิตยานยนต์ในประเทศค่อนข้างน้อยและพึ่งพาการนำเข้ามากกว่า โดยนิยมรถยนต์เอนกประสงค์ที่ใช้งานได้หลากหลาย ให้ความสำคัญกับตราสินค้าและคุณภาพอย่างมาก


ตลาดตะวันออกกลางสามารถแบ่งตลาดได้ 3 กลุ่มตลาดใหญ่ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีลักษณะที่แตกต่างกันดังนั้นการเลือก สินค้าเพื่อเจาะตลาดในแต่ละกลุ่มให้เหมาะสมจึงเป็นจุดสำคัญ อันประกอบด้วย กลุ่ม GCC(กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ Gulf Cooperation Council : GCC) มี 6 ประเทศ ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยในตะวันออกกลาง ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE) บาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย คูเวต กาตาร์ และโอมานกลุ่มอาหรับ 5 ประเทศ ได้แก่ เลบานอน จอร์แดน ซีเรีย อิรัก และเยเมน และกลุ่มที่มิใช่อาหรับ ได้แก่ อิหร่าน ตุรกี ไซปรัส และอิสราเอล


ในแต่ละประเทศก็จะมีกลุ่มประชากรที่หลากหลายซึ่งการเลือกลุ่มลูกค้าและปรับสินค้าให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าจะช่วย เพิ่มความน่าสนใจของสินค้า โดยกลุ่มลูกค้าหลักจะแบ่งได้เป็นคนท้องถิ่น นักท่องเที่ยว และคนต่างชาติที่เข้ามาอาศัย อาทิ UAE มีประชากรอยู่ราว 7 แสนคน แต่อีกกว่า 4 ล้านคนเป็นชาว ต่างชาติที่มาอาศัยอยู่ใน UAE เช่น บังคลาเทศ ปากีสถาน และอินเดีย เป็นต้น รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่มาท่องเที่ยวในประเทศ



ตะวันออกกลางเป็นประเทศมั่งคั่งทางการเงินจากการค้าน้ำมัน แต่ขาดแคลนอาหารทำให้รัฐบาลหลายประเทศต่างตระหนักถึงความสำคัญด้าน ความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะอาหารฮาลาลเพราะประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ซึ่งทำให้การค้าสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มต่างๆจึงมีโอกาสสูง เช่น ข้าว น้ำตาล และน้ำ เป็นต้น รวมถึงหากสามารถเจาะตลาดได้แล้วก็จะสามารถทำตลาดได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าวของไทยซึ่งเป็นสินค้าอันดับ 2 ที่ทำตลาดได้ดีในตะวันออกกลาง โดยประเทศที่นำเข้าข้าวไทยที่ สำคัญ ได้แก่ อิรัก อิหร่าน เยเมน UAE ซาอุดีอาระเบีย และอิสราเอล ตามลำดับ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าข้าวไทยที่ส่งไปตะวันออกกลางเป็นสินค้าที่ป้อนให้แก่คนต่างชาติโดยเฉพาะใน UAE (คนจีนและฟิลิปปินส์จะนิยมบริโภคข้าวหอมมะลิของคนไทยเป็นหลัก) สะท้อนว่า UAE มีความหลากหลายของผู้อยู่อาศัยอันจะนำมาซึ่งความต้องการสินค้าที่หลากหลายตามมา



การดำเนินธุรกิจกับตะวันออกกลางอาจเริ่มต้นจากการทดลองตลาด โดยให้ความสำคัญกับตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE) โดยเฉพาะ ในรัฐดูไบซึ่งเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าในภูมิภาคตะวันออกกลาง เอเชียกลางและแอฟริกาเหนือ ขณะที่การส่งออกสินค้าไปยังตลาดซาอุดีอาระเบียส่วนใหญ่จะเน้นทำตลาดเพื่อผู้บริโภคภายในประเทศเป็นหลัก โดยปัจจุบันมีสินค้าจากไทยพอเป็นที่รู้จักอยู่บ้างแล้ว นั่นก็อาจเปิดโอกาสทางธุรกิจ SMEs ไทยเข้าสู่ตลาดได้สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับ ยานยนต์/ส่วนประกอบ และอาหาร ทั้งนี้ หากการทำตลาดกับ UAE และซาอุดีอาระเบียประสบผลสำเร็จก็อาจจะเป็นเครื่องการันตีว่าจะสามารถทำตลาดได้อย่างต่อเนื่องและเป็นใบผ่าน ทางเข้าสู่ตลาดอื่นๆในตะวันออกกลางได้ราบรื่นมากขึ้น เพราะตลาดดังกล่าวเป็นที่ขึ้นชื่อว่ามีความหินมากในการทำธุรกิจ มีทั้งความหลากหลายของเชื้อชาติและพิถีพิถันในการทำธุรกิจ

ดู 61 ครั้ง
bottom of page