top of page
mihas-over-a-year.jpg

บทความ & บทสัมภาษณ์

  • รูปภาพนักเขียนSharif

ผู้นำในยุค NEW NORMAL ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

ผู้นำในยุค New Normal คงต้องมีอะไรที่แตกต่างจากเดิม คงถึงเวลาแล้ว ที่เราควรจะตรวจสอบว่า ความสามารถที่เรามีตอนนี้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เพื่อเตรียมพร้อมสถานการณ์หลังจากเกิดเหตุการณ์โรคระบาดใหญ่ทั่วโลก ซึ่งหากถามใจตัวเองว่า หากต้องการเป็นผู้นำที่คนชอบ เราจะต้องเป็นคนแบบใหน มีความสามารถอะไร เพื่อตอบกับสิ่งที่น่าจะเปลี่ยนแปลงในอนาคตในยุค New Normal

เตรียมตัวรับมือกับ NEW NORMAL

ไม่มีใครรู้หรอก ว่าหลังจากเกิดเหตุการณ์โรคระบาดจาก COVID-19 เหตุการณ์ต่าง ๆ จะกลับมาปกติมากน้อยแค่ใหน อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจคงจะไม่กลับมาเหมือนเดิมในเร็ว ๆ แน่นอน ซึ่งกว่าจะกลับมาปกตินั้น น่าจะต้องใช้เวลาอีกระดับหนึ่งเลย อาจจะปลายปีนี้ หรือปีหน้าเลยก็ได้

การเอาตัวรอด และ ทำให้สถานการณ์ของธุรกิจกลับมาเฟื่องฟูได้นั้น ผู้นำต้องมีใจที่อยากจะเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่พาองค์กรอยู่แต่ใน Comfort Zone ซึ่งการที่เราทำงานโดยใช้ความสามารถเดิม ๆ ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ COVID-19 นี้น่าจะทำให้งานที่ออกมาไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร

 

ทางสาระรีฟ เลยคาดว่า เราต้องเตรียมตัวอย่างไร และจะประเมินตัวเองอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะเตรียมตัวความรู้ ความสามารถของตัวเรา ให้พร้อมเป็นผู้นำในยุค New Normal ได้

ขั้นตอนการประเมินตัวเอง ว่าเราเป็นผู้นำในยุค NEW NORMAL แล้วหรือยัง?

เวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะเลย สำหรับคนที่ต้องเป็นผู้นำ หรือเป็นผู้นำอยู่ตอนนี้ เปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อยกระดับขีดความสามารถของตัวเองให้ดีขึ้น จากการสร้างพื้นฐานความสามารถของเดิมต่อยอดความสามารถใหม่ ๆ เพื่อผนวกองค์ความรู้ที่หลากหลายเหล่านั้น มาช่วยในการเติบโตของหน้าที่การงาน และองค์กรให้มากขึ้น

สาระเลยได้มาแนะนำ 3 ขั้นตอนในการเตรียมตัวเองให้เป็นผู้นำในยุค New Normal


1. ตั้งคำถามตัวเอง


ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ เราต้องถามใจตัวเองว่า ผู้นำที่เก่งต้องเป็นใหน? แล้วผู้นำเหล่านั้นเขาจะจัดการสถานการณ์ปัจจุบันแบบใหนได้บ้าง ลองมาดูกันว่าเราจะพบคำตอบพวกนั้นได้อย่างไร

  • เขียนคำถามที่คุณคิดว่า ผู้นำน่าจะต้องเจออะไรบ้างในช่วงวิกฤติ? เมื่อได้สิ่งที่เราคิดว่าอะไรบ้างที่คนเหล่านั้นน่าจะต้องเจอ ให้เอาคำถามเหล่านั้นมาเขียนต่อว่า จะพิสูจน์ยังไงว่าสิ่งที่เราคาดการณ์จะเกิดขึ้นจริง สิ่งเหล่านั้นมีข้อยกเว้นไหม แล้วถ้าหากมันไม่เกิด สถานการณ์จะเหมือนเดิมหรือเปล่า สุดท้ายถ้าเป็นคุณ คุณจะตัดสินใจกับมันยังไง

  • เชิญคนอื่นมาร่วมด้วย ซึ่งในส่วนนี้ให้เราไปถามคนรอบข้างว่า ตอนนี้เรามีอะไรบ้างที่ยังขาดอยู่ หรือคนเหล่านั้นเชี่ยวชาญอะไรบ้าง สิ่งเหล่านั้นที่เขาเป็นอยู่ต้องปรับตัวยังไง ที่มีอยู่มันมีอะไรบ้างที่ใช้ไม่ได้ เพื่อที่คุณจะได้แนวคิดในการนำมาใช้กับตัวเอง

  • ขยายกรอบความเชื่อเดิมๆ ในส่วนนี้จะผมจะยกตัวอย่างประมาณนี้ครับ คุณคิดว่าผู้นำที่ดีนั้นจะต้องซ่อนความกลัว หรือ ความอ่อนแอใช่ไหม? หรือผู้นำจะต้องมีคำตอบในทุกเรื่อง? เรามีหลักฐานอะไรบ้าง ที่ทำให้เราเชื่อว่าผู้นำที่เก่งต้องเป็นแบบนั้น บางทีการที่เราลบกรอบความเชื่อเดิม ๆ มีโอกาสที่เราจะเจอความสามารถใหม่ ๆ ที่ดีกว่า ในการหาวิธีการแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นกว่าที่เราเชื่อก่อนหน้าก็เป็นไปได้

  • พยายามออกไปคุยกับคนหลากหลาย เพื่อที่จะทำให้เราได้กรอบความคิดใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยคิดว่าจะทำได้ ไปสู่การตั้งเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าด้วยวิธีการที่แตกต่าง ซึ่งการที่คนเชี่ยวชาญทางใดทางหนึ่งนั้น ยังไม่เพียงพอในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เรียบง่าย ได้มากกว่าคนที่มีองค์ความรู้หลากหลาย ในการผนวกความรู้หลากหลายนั้นมาสู่วิธีการแก้ไขที่ง่ายกว่าเดิม

จากการที่เราไปพูดคุยกับคนหลากหลายนั้น นอกจากจะได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ยังช่วยทำให้ได้มุมมองใหม่ ๆ จากการสนทนาเหล่านั้น ซึ่งมันจะดีมากขึ้นหากเราไม่ยึดตำแหน่งของเรามากเกินไป และเปิดรับกับคนที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า โดยคิดว่าการสนทนาในครั้งนี้ จะไม่เอาหัวโขนมาใช้

เมื่อเราได้คุยกับคนในหลายระดับแล้วนั้น จะทำให้ได้ไอเดียใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์เยอะแยะเลย ยิ่งเรากล้าที่จะยอมรับความคิดของคนหลากหลายแล้วนั้น จะช่วยทำให้เราได้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ในการหาวิธีการแก้ไขสถานการณ์ที่ดีขึ้นได้มากมายหลายเท่าเลย พร้อมทั้งยิ่งหากเรานำคนหลากหลายมาร่วมงานด้วย นั่นแหละสถานการณ์เหล่านั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง โดยที่วิธีเดิม ๆ ที่เราเคยใช้สู้ไม่ได้เลย ดังนั้นเปิดใจในความเปลี่ยนแปลงพวกนี้ซะ


2. ตัดสินใจเรื่องที่ศึกษา

ผู้นำโดยทั่วไปแล้วมักจะเชื่อว่าความรู้ ความสามารถที่ตนมีนั้น เพียงพอแล้วที่จะใช้ในสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งจริง ๆ สถานการณ์โลกในช่วงนี้มันซับซ้อนมากกว่าช่วงปกติเยอะเกินกว่าที่คน ๆ เดียว หรือคนที่มีความรู้เฉพาะบุคคลสามารถแก้ไขได้

ขณะเดียวกันนั้น ความรู้ ความสามารถที่มีอยู่ตอนนี้สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ แต่มันยังไม่เพียงพอที่จะใช้ในการหาโอกาสใหม่ ๆ จากสถานการณ์เหล่านั้น และ วิกฤติต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเพื่อให้ตัวเราเองเตรียมตัวที่จะรับมือ แต่สาระรีฟ ก็มีแนวทางมาให้ท่านผู้อ่าน ข้างล่างนี้เลยครับ

  • ค้นหาตัวเองว่าความรู้ที่มีอยู่ มีจุดอ่อนอะไรบ้าง? ทางผมจะยกตัวอย่างประมาณนี้ครับ ให้ดูว่าความรู้ที่คุณมีอยู่มันมันมีข้อจำกัดในส่วนของการคิดกลยุทธ์ เพื่อไปยังเป้าหมายที่ต้องการทั้งแนวกว้าง (ผนวกองค์ความรู้หลายศาสตร์) และแนวดิ่ง (องค์ความเฉพาะทาง) อะไรบ้าง และความรู้ที่มีตอนนี้ หากสิ่งที่คิดได้ได้อาจจะส่งผลให้ต้องเปลี่ยนเป้าหมายไปเลย เราจะทำไหม? หรือจะพยายามหากลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์กับเป้าหมายเดิม?

  • สร้างเงื่อนไขในการค้นหาคำตอบ วิธีหนึ่งในการเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ คือ ยอมรับที่เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างความรู้ในแบบคุณเอง จะช่วยให้ต่อยอดสิ่งที่คุณมีอยู่ได้

ทางผมแนะนำว่า ในทุก ๆ คืน ให้ใช้เวลาก่อนนอนสักนิดในการเขียน 4 อย่างลงในกระดาษ โดยมีดังนี้

  1. คุณคาดหวังอะไรบ้าง ที่อยากจะให้เกิดขึ้นในวันถัดไป

  2. อะไรบ้างที่เกิดขึ้นจริง ในแต่ละวันเหล่านั้น

  3. ความแตกต่าง ระหว่างสิ่งที่คุณคาดหวัง กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

  4. คุณได้เรียนรู้อะไรบ้าง จะความแตกต่างระหว่างสิ่งที่คาดหวัง กับ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเหล่านั้น

หากคุณดูคำตอบที่ได้จากการเขียนทุก ๆ วันก่อนนอน ใน 4 หัวข้อที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มันจะช่วยให้คุณสามารถที่จะเรียนรู้ และพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ซึ่งนั่นแหละจะทำให้ความสามารถของคุณเองเติบโตขึ้น

3. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

หากคุณมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วตอนนี้ในการขับเคลื่อนองค์กรไปตามเป้าหมาย ให้เอาเป้าหมายนั้น มาเป็นพันธกิจหลักในการลงมือปฏิบัติในแต่ละเรื่อง ซึ่งจะช่วยทำให้ตัวคุณเองมีคุณค่ายิ่งขึ้นในฐานะผู้นำ

แบรนด์ใดก็ตามที่มีการตั้งเป้าหมายชัดเจน จะช่วยทำให้รับมือกับสถานการณ์ได้ดีกว่า แบรนด์อื่น ๆ พร้อมทั้งผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะช่วยทำให้ แบรนด์เหล่านั้นมีโอกาสได้รับโอกาสใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้องค์กรสามารถนำหน้าคู่แข่งไปข้างหน้าได้อีกระดับหนึ่ง


อีกทั้งแบรนด์ที่ขับเคลื่อนตามเป้าหมายเหล่านั้นจะช่วยให้แบรนด์รับมือกับสภาวะการณ์ต่าง ๆ ได้เร็วกว่า พร้อมทั้งยังสามารถตอกย้ำคุณค่าของแบรนด์มากขึ้น ในช่วงที่ตลาดอยู่ในช่วงสภาพวิกฤติดังกล่าว (ท่ามกลางวิกฤติ จงทำให้แบรนด์เป็นฮีโร่ในใจคน ) ซึ่งผู้นำที่ดีต้องสามารถที่จะใช้เป้าหมายที่วางใว้ เสมือนไฟนำทางในการมองหาโอกาสใหม่ ๆ พร้อมทั้งยังสามารถนำสิ่งที่เห็นเหล่านั้น สามารถสื่อสารกับคนในองค์กรณ์ ให้เห็นโอกาสเดียวกัน ทำให้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ช่วยกันรับมือกับสถานการณ์เหล่านั้นได้รวดเร็ว ฉับพลันมากขึ้น

ดังนั้น เป้าหมายส่วนตัว กับ เป้าหมายองค์กร จะต้องสอดคล้องกัน โดยที่จุดยืนของผู้นำนั้น จะต้องยึดอยู่บนประโยชน์ให้แก่องค์กรเป็นหลัก ในการรับมือวิกฤติ พร้อมทั้งยังสามารถสื่อสารกับคนในองค์กรให้เห็นภาพเดียวกันได้เช่นกัน วิกฤติต่าง ๆ ที่เข้ามาก็จะช่วยให้ทั้งองค์กรปรับตัวได้ดีขึ้นกว่าเดิม

 

ตอนนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สังเกตุได้จากทุกปี ที่มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เข้ามาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด ความขัดแย้งระหว่างประเทศ สงคราม หรือแม้กระทั่งสภาวะการตกต่ำของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ใด ๆ ก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นที่ดีให้ผู้นำพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะเติบโต เหตุการณ์วิกฤตินี้แหละที่เป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนเป็นผู้นำ ในการมองดูตัวเองและปรับตัวให้พร้อมรับมือตลอดเวลา จาก 3 ขั้นตอน เพื่อที่จะเรียนรู้ในการเป็นผู้นำในยุค New Normal


สุดท้ายแล้ว หากใครอยากถาม หรือพูดคุย Add Line (คลิ๊ก) หรือ ทัก Chat Facebook (คลิ๊ก) แล้วแต่สะดวกได้เลย มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ครับ หวังว่าเนื้อหานี้คงจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

สำหรับใครที่สงสัยว่า สาระรีฟ คืออะไรสามารถอ่านได้ ที่นี่เลยครับ สาระรีฟ.com ส่วนนี้จะอธิบายว่าบทความต่าง ๆ ที่จะมาแชร์กันมีเรื่องอะไรกันบ้าง หวังว่าจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

 
ABOUT THE AUTHOR
Sharif Densumite

กูรูแวดวง Start up และ SMEs ผู้ก่อตั้ง "Pinsouq" ตลาดซื้อขายสินค้าฮาลาล (Halal Marketplace)ที่ รวบรวมสินค้าฮาลาลมากกว่า 1 แสนรายการ เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ สาระรีฟ เพจข่าวสารการตลาดออนไลน์ ในแวดวงธุรกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ 
ดู 84 ครั้ง

Comments


bottom of page