top of page
mihas-over-a-year.jpg

บทความ & บทสัมภาษณ์

รูปภาพนักเขียนsmaddaee

ที่ปรึกษาทางการเงินกับความตั้งใจที่จะให้มุสลิมมีสุขภาพทางการเงินที่ดี

ปัจจุบันระบบการเงินอิสลามมีธุรกิจที่หลากหลายให้เป็นทางเลือกแก่มุสลิม ในการรับบริการทางการเงินมากมาย ที่อยู่ภายใต้กรอบ หลักศาสนาอิสลาม หรือ หลักชะรีอะห์ (Shariah Law) ในการทำธุรกรรมใดๆ หลักชะรีอะห์ (Shariah Law) หรือ กฎหมายอิสลามนั้นนำไปใช้กับทุกๆด้านของชีวิตชาวมุสลิม รวมทั้งตลาดการเงินอิสลามทั่วโลกมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด เนื่องจากชาวมุสลิมต้องการบริการด้านการเงินที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม

วันนี้เราจะมีพูดคุยกับ คุณนัส ชวลิต ติเพียร ที่ปรึกษาทางการเงินกันค่ะ


TMTA : ช่วยแนะนำตัวและประสบการณ์ ที่มาที่ไปจนมาเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในปัจจุบันค่ะ ?


นัส : หลังเรียนจบด้านศิลปะจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เปลี่ยนงานบ่อยมาก เพื่อปรับเงินเดือนให้มากขึ้น จาก 9,000 บาท เป็น 18,000 บาท มีความฝันง่ายๆ คือ ต้องมีรายได้เดือนละ 100,000 บาท ภายในอายุ 30 ปี ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนาตนเองจนได้เป็นผู้จัดการตั้งแต่อายุ 27 ปี เพราะชอบการเรียนรู้ พัฒนาตนเองประกอบกับทำงานบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องการลงทุน จึงขยันอ่านหนังสือ จนสอบใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนได้ ทำให้รายได้ขยับขึ้นไปแตะ 50,000 บาท ชีวิตช่วงนั้นทำงานหนักมาก และสนุกมากเช่นกัน เรื่องงานไปได้สวย แต่อีกด้านก็ไม่สามารถจัดสรรเวลาให้ตัวเอง และ ครอบครัวใช้จ่ายเกินตัวเป็นหนี้บัตรเครดิต รายได้ไม่พอรายจ่าย จึงคิดอยากมีรายได้เพิ่มและมีเวลาเป็นของตนเองมากขึ้น จึงตัดสินใจมองหาเครื่องมือทำรายได้เพิ่มเพื่อให้ชีวิตได้ตั้งหลัก ก็มาเจอธุรกิจ Financial Advisor (ที่ปรึกษาทางการเงิน) เนื้องานต่างกันคนละขั้ว เพราะการขายเป็นงานเชิงรุก ต้อง Active ตลอดเวลา อดทนเรียนรู้งานขายงานบริการจนในที่สุดก็ออกมาทำธุรกิจนี้เต็มตัว


TMTA : คิดว่า เศรษฐกิจไทยขณะนี้ ควรออมหรือควรลงทุนอย่างไร เพื่อให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ปลอดภัยและสามารถเพิ่มมูลค่าได้ด้วย นัส : พูดถึงการออมทุกคนก็น่าจะรู้จัก แล้วก็ได้เริ่มลงมือออมบ้างแล้ว หลายคนอาจจะคิดว่าการออม คือการประหยัดและเก็บเงินให้ได้เยอะๆ หรือ คิดว่าการออมก็ คือ การลงทุน แต่นั่นก็อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดของการออม


ในมุมมองของนัสเห็นว่า การออมนั้นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ในการออม ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่หลายๆคนอาจจะไม่ได้นึกถึง หากจะพูดถึงวัตถุประสงค์ของการออม

ขอแบ่งเป็น 3 ข้อให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้นะครับ

1. ออมเผื่อใช้ หมายถึง การเก็บเงินสภาพคล่อง ให้พร้อมกับเงินที่ต้องการใช้ในอนาคต บางคนอาจจะเตรียมไว้ 3-6 เดือน แต่สำหรับช่วงวิกฤตโควิดนี้ 3-6 เดือน ก็อาจจะไม่เพียงพอ

2. ออมเผื่อฉุกเฉิน หมายถึงการเก็บเงินเผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่คาดไม่ถึงเช่นอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย ซึ่งในส่วนนี้เอง การออมในรูปของประกัน จึงเป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อโอนย้ายความเสี่ยง


3. ออมเพื่อเป้าหมายที่สำคัญ เช่น เงินเกษียณอายุ เงินค่าเล่าเรียนบุตร หรือ แม้แต่เงินเก็บแต่งงาน ซื้อบ้าน ซื้อรถ ซึ่งเป้าหมายต่างๆจะขึ้นอยู่กับระยะเวลา


TMTA : เราได้ใช้หลักการอิสลามในเรื่องใดบ้าง และได้มีส่วนช่วยเหลือมุสลิมในด้านใดบ้างค่ะ

นัส : การถือศีลอด เป็นหลักการหนึ่งที่ฝึกฝนให้นัสรู้จักความอดทน และการรอคอย ความจริงของการถือศีลอดคือ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมเราก็สามารถกินดื่มได้ ถ้ายังไม่ถึงเวลาเรามีหน้าที่ในการอดทน และรอคอยเวลา ความจริงของการทำงานเป็นที่ปรึกษาการเงินและประกันชีวิตก็คือ การอดทนและการรอคอยที่นัสได้มาจากการถือศีลอดนั่นเอง

หลักการต่อมา คือ ดอกผลแห่งความสำเร็จของการประกอบธุรกิจส่วนหนึ่งนัสใช้ไปกับการให้ ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจ

ภาคบังคับ คือ การออกซะกาตเป็นจำนวนร้อยละ 0.25 นัสคิดง่ายๆว่า ล้านละ 25,000 บาท โดยหนึ่งในชีวิตนัสอยากออกซะกาตปีละ 1 ล้าน

ส่วนการให้ภาคสมัครใจ คือ การได้ให้ทานทุกโอกาสที่อยากให้ให้ด้วยเงิน ให้ด้วยของขวัญ ให้กำลังใจด้วยคำพูด ให้ความรู้ แก่ทุกคนตามวาระและโอกาส


TMTA : หากในอนาคตสมาคมจัดอบรม หรือสัมมนาให้ความรู้ในด้านธุรกิจ คุณต้องการให้สมาคมจัดอบรมในเรื่องใด

นัส : ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเงินครับ


นี่คือ บทสัมภาษณ์ และ ข้อคิด ดีๆในการประกอบธุรกิจ และกิจกรรมเพื่อสังคมอันหลากหลายบทบาทของ คุณนัส ชวลิต ติเพียร ในวันนี้ค่ะ ********ตะกาฟุล (Takaful) หรือ การทำประกันภัยแบบอิสลาม คือ รูปแบบของการประกันที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม หรือ ชะรีอะฮ์ ที่อยู่บนพื้นฐานของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และร่วมมือระหว่างกัน

 

ช่องทางการติดต่อ 👇👇👇

คุณ ชวลิต ติเพียร

เบอร์: 083 436 5945

Email: nuschawalit@gmail.com

FB/IG: ชวลิต ติเพียร

Youtube : นัสชวลิต ไดอารี่

 

ดู 275 ครั้ง

Comments


bottom of page